วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

วิธีการสมัคร blogger.com

เริ่มเข้าสู่การหน้าแรกของการสมัครเป็นสมาชิก Blogger.com

[55555.JPG]

สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความนี้ก็เริ่มเข้าสู่การหน้าแรกของการสมัครเป็นสมาชิก Blogger.com นะครับหน้าแรกที่จะต้องสมัครสมาชิก ก็เป็นอย่างที่เห็นข้างบนนี่แหล่ะครับ พร้อมคำอธิบายการสมัครง่ายๆ 3 ขั้นตอน โดยเราสามารถใช้ "อีเมล์" และ "รหัส" ของการเข้าใช้อีเมล์ของ Gmail ได้เลย


[12.JPG]

ผมขยายส่วนที่จะสมัครให้ดูใกล้ๆ มีข้อสังเกตุด้านบนขวาสุดนะครับ จะเห็นช่องให้เลือกภาษา ยังไงก็แนะนำว่าเลือก "ภาษาไทย" ไว้ก่อน จะได้ศึกษาคำสั่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ดีใจแทนเพื่อนๆ นะครับ เพราะเมื่อก่อนตอนที่ผมศึกษาเอง ภาษาไทยยังไม่มีครับ และผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตสักเท่าไหร่ ก็เลยงมโข่งอยู่ตั้งหลายเดือนดังนั้นผมจึงมีความตั้งใจว่าจะทำการอธิบายอย่างละเอียด ใครที่พอรู้ หรือรู้อยู่แล้ว และมาอ่านเจอก็ไม่ว่ากันนะครับว่า ทำไมผมถึงเขียนอธิบายซะเหมือนคนไม่รู้เรื่องอ่าน เพราะผมตั้งใจเขียนให้คนที่ไม่ค่อยมีพื้นฐานได้เขียนบล็อกได้จริงๆ ไม่ใช่เหมือนที่ผมไปอบรมมา คือก็เข้าใจว่าวิทยากร เขาเก่ง แต่สอนเหมือนคนฟังเข้าใจอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ ชักยาวไปต่อดีกว่าครับ

[13.JPG]

เพื่อนๆ ก็ใส่อีเมล์ และรหัส ไปในช่องข้างบน แล้วกดเมนู "ลงชื่อเข้าใช้งาน" เลยก็จะไปสู่หน้าการสร้างบล๊อกได้เลยครับ

[14.JPG]
หน้าตาของขั้นตอน (step) ที่ 2 ก็เป็นการตั้งชื่อเว็บบล็อก และตั้งชื่อ URL หรือคล้ายโดเมนเนม ตรงนี้ผมขอแนะนำว่า การตั้งชื่อเว็บบล็อก ไม่ต้องไปซีเรียส สามารถเปลี่ยนได้ แต่ที่ซีเรียสคือ การตั้งชื่อ URL หรือ sub domain name นี่แหล่ะครับ เพราะมันแก้ไขไม่ได้ ตั้งแล้วตั้งเลย (ยกเว้นแต่จะลบบล็อกทิ้งเลย)

[15.JPG]

พอดีผมตั้งใจว่าจะเขียนบทความอีกแนว เกี่ยวกับความรู้ด้านเทคโนโลยี หรือวิทยาศาสตร์พอดี แต่คงสไตล์เดิมนะครับ คืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ จึงตั้งชื่อว่า "a little of technology" และตั้งชื่อ sub domain name ว่า "alittleoftechnology" และได้ URL เป็น " http://alittleoftechnology.blogspot.com/ " ครับ ส่วนของเพื่อนๆ ก็ลองตั้งกันดู ถ้าให้ง่ายๆ บล็อกแรกที่ผมสร้างชื่อ preeda station ครับ มี URL คือ " http://preedastation.blogspot.com/ " งั้นเราไปที่ขั้นตอนสุดท้ายเลยครับ

[16.JPG]
หน้าเว็บเพจสุดท้าย หรือขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างบล็อก คือ การเลือก "แม่แบบ" หรือ "theme" หรือ รูปแบบ-หน้าตา ของเว็บบล็อกของเราเอง ซึ่งผมก็ขอแนะนำว่า เลือกๆ ไปก่อนเถอะครับ มันไม่ได้สำคัญอะไรครับ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในบทความที่เกี่ยวข้องตอนแนะนำเมนูต่างๆ จะอธิบายให้อีกทีครับ จากนั้นก็กด "ลูกศร-ดำเนินการต่อ" ได้เลยครับ

[17.JPG]

จะพบหน้าเว็บเพจ "บล็อกของคุณถูกสร้างเสร็จแล้ว" จากนั้นกดปุ่มลูกศร "เริ่มต้นการเขียนบล็อก" ได้เลยครับ เพื่อเริ่มเขียนบล็อก
[18.JPG]
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ถ้าเพื่อนๆ ยังไม่รู้จะเขียนอะไร ก็ให้มั่วๆ แบบผมไปก่อนนะครับ เช่นคีย์เลยเปก่อน

[19.JPG]

ผมจึงคีย์เลข 1111111111 เข้าไปที่ "ชื่อเรื่อง" "พื้นที่ให้เขียนบทความ" และใน "ป้ายกำกับ" เพื่อเป็นการทดสอบ แต่ถ้าเพื่อนๆ มีบทความเตรียมไว้อยู่แล้ว ก็ใส่ได้เลยพร้อมตั้งชื่อเรื่องด้วย ส่วนป้ายกำกับควรใส่ "คำสำคัญ" ให้สอดคล้องกับบทความที่เขียน และควรจะมีคำสำคัญหลัก" อยู่ด้วย เช่นถ้าเป็นของผม ที่เขียนเรื่องอาการเจ็บป่วยที่เป็นผู้ทุพพลภาพ ( http://preedastation.blogspot.com/ ) ผมจะมีคำสำคัญหลัก ที่เขียนลงใน "ป้ายกำกับ" ว่า "ปรีดา ลิ้มนนทกุล" "ผู้ทุพพลภาพ" ผู้พิการรุนแรง" "ลิ้มนนทกุล" "preeda station" เป็นต้น ส่วนคำสำคัญที่เพิ่มเติม ก็ขึ้นอยู่กับว่า ผมเขียนบทความเรื่องอะไร ถ้าเชียนเรื่อง แผลกดทับต้องดูแลอย่างไร ก็ควรใส่คำว่า "แผลกดทับ" ไปด้วย เป็นต้น

[20.JPG]


เมื่อกดเมนูสีส้มที่เขียนว่า "เผยแพร่บทความ" จะเห็นหน้าเว็บเพจนี้ก่อนครับ "เผยแพร่บทความบล็อกของคุณเสร็จสมบูรณ์" จากนั้นควรกดเมนู "ดูบล็อก" ก็จะเห็นหน้าเว็บบล็อกของเรา ซึ่งก็มีรปแบบหน้าตาที่เลือกๆ ไปก่อนหน้านี้ ที่ผมแนะนำว่าเดี๋ยวเปลี่ยนทีหลังได้ครับ ก่อนจะไปดูหน้าเว็บบล็อกที่เสร็จแล้ว ขอแนะนำอีก 2 เมนูนะครับ คือเมนู "แก้ไขบทความ" ถ้าเรากดเมนูนี้ จะไปสู่บทความที่เราพึ่งจะเขียนบทความมาก่อนหน้ารนี้ เพื่อเข้าไปแก้ไขเนื้อหาในบทความได้ครับส่วนเมนู "สร้างบทความใหม่" ถ้ากดก็จะไปที่หน้าการเขียนบทความใหม่ครับ

[21.JPG]

เมื่อกดเมนู "ดูบล็อก" ก็จะเห็นหน้าตาเว็บบล็อกของเราเอง ตามตัวอย่างข้างบน ถือว่าจบขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้วนะครับ
แหล่งข้อมูลhttp://bloggerbuild.blogspot.com/2008/04/3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น