วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

สุขภาพ

กระเพาะปัสสาวะอักเบเป็นอย่างไร

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและ อยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติ มีอยู่เป็นจำนวนมาก) จึงมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการฟักตัวและเกิดการอักเสบได้ ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะ ในระยะการแต่งงานใหม่ๆ ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่เรียกว่าเป็น HONEYMOON CYSTITIS อาการ - การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการ - ปัสสาวะบ่อย แต่ละครั้งมีจำนวนน้อย และกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ - แสบในท่อปัสสาวะ ปวดเสียวตอนถ่ายสุด - ตึง ปวดถ่วงบริเวณท้องน้อย - ปัสสาวะมีเลือดปน - ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ การวินิจฉัย วินิจฉัยได้ง่าย โดยมีอาการดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับการตรวจปัสสาวะ การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ให้ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อน แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงถัดมา เพื่อทำการตรวจจะพบว่า มีจำนวนเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ในบางราย ที่เป็นเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องเก็บปัสสาวะไปเพาะเชื้อ เพื่อให้ทราบ ชนิดของแบคทีเรียนั้นด้วย การรักษา รับประทานยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้ามีอาการมากต้องรับประทานยาเป็นเวลานานขึ้น คือ ประมาณ 7-10 วัน ในรายที่มีอาการอักเสบบ่อย ๆ (ประมาณ 2 ครั้ง ใน 6 เดือน) อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะวันละครั้ง เพื่อเป็นการป้องกัน ผู้ที่มีการอักเสบได้ง่าย หลังการมีเพศสัมพันธ์ อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะหลังร่วมเพศเพื่อป้องกันการอักเสบมีผลร้ายแรงหรือไม่ ?
ถ้ารักษาให้หายขาดจะไม่มีผลร้ายแรง ส่วนรายที่ไม่หายขาด เชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจมีผลทำให้การอักเสบนั้นลุกลามไปถึงที่ไต ทำให้ไตเกิดการอักเสบได้ ดังนั้นหลังรับประทานยาครบแล้ว จึงควรตรวจปัสสาวะอีกครั้งการป้องกัน - หมั่นรักษาทำความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก - บางครั้งเชื้อแบคทีเรีย เมื่อหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้ว ต้องใช้ระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อ ดังนั้นการดื่มน้ำมากๆ จะทำให้มีน้ำปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยขับแบคทีเรียออกมาได้ - ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้เป็นระยะเวลานานๆ เพราะการกลั้นปัสสาวะไว้นาน จะเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เชื้อแบคทีเรียมีเวลาฟักตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ นานขึ้น ยังทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย - ผู้ที่มีการอักเสบบ่อย ๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อให้ตรวจหา สาเหตุแอบแฝงอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย เช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ จากระบบประสาทควบคุม หรือมีการอุดตันในระบบปัสสาวะ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น